ปรัชญา และ ศาสนา

Philosophy and Theology (www.saengtham.tk)

จริยศาสตร์เชิงหน้าที่ Deontological Ethics

Posted by JinSon on June 16, 2010

จริยศาสตร์เชิงหน้าที่
Deontological Ethics

1. ความหมายของจริยศาสตร์เชิง หน้าที่
2. จริยศาสตร์เชิง หน้าที่ของ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant)

3. การอธิบายทฤษฎีจริยศาสตร์เชิงหน้าที่ของนักจริยศาสตร์ร่วมสมัย

4. ปัญหาและข้อโต้แย้งที่สำคัญ

เรียบเรียงจาก

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

คำที่เกี่ยวข้อง

จริยศาสตร์เชิงหน้าที่ (Deontological Ethics) คือ ทฤษฎีจริยศาสตร์ที่อธิบายว่าการตัดสินความถูกต้องของการกระทำไม่ขึ้นอยู่กับ ผลของการกระทำ แต่ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นเอง  หรืออธิบายว่า การกระทำที่มีคุณค่าทางจริยธรรมคือการกระทำที่มีลักษณะทำตามหน้าที่ (duty)  นักจริยศาสตร์ที่เสนอทฤษฎีจริยศาสตร์ในลักษณะนี้คือ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant)  ดับบลิว ดี รอสส์ (W. D. Ross) และโธมัส อี ฮิลล์ จูเนียร์ (Thomas E. Hill Jr.) เป็นต้น  ในที่นี้จะนำเสนอคำอธิบายจริยศาสตร์เชิงหน้าที่ดังที่ปรากฏอยู่ในทฤษฎีจริย ศาสตร์ของอิมมานูเอล คานต์ และการอธิบายจริยศาสตร์เชิงหน้าที่ในทัศนะของนักจริยศาสตร์ร่วมสมัย รวมทั้งจะนำเสนอปัญหาและข้อโต้แย้งที่สำคัญของจริยศาสตร์เชิงหน้าที่ในตอน ท้าย
Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , , , , , , , | Leave a Comment »

จริยศาสตร์คุณธรรม Virtue Ethics

Posted by JinSon on June 16, 2010

จริยศาสตร์คุณธรรม
Virtue Ethics

1. จริยศาสตร์ คุณธรรมแบบเก่า
2. การฟื้นคืนของจริยศาสตร์คุณธรรม
3. ลักษณะของคุณธรรม
4. ข้อวิจารณ์
เรียบ เรียงจาก
เอกสาร ค้นคว้าเพิ่มเติม
คำ ที่เกี่ยวข้อง

1. จริยศาสตร์คุณธรรมแบบเก่า

จริยศาสตร์คุณธรรม (virtue ethics) มีบทบาทสูงมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่น ในปรัชญาของเพลโตและอริสโตเติล) จนกระทั่งยุคแห่งความรุ่งโรจน์ทางปัญญา (the Enlightenment) เมื่อต้องศึกษาเกี่ยวกับ “คุณธรรม” (virtue) นักปรัชญาคนสำคัญที่มักนึกถึงกันก็คืออริสโตเติล เบื้องต้น จึงควรกล่าวถึงแนวคิดของเขาโดยย่อเพื่อให้เห็นภาพของจริยศาสตร์คุณธรรมแบบ เก่าก่อนที่จะได้พิจารณาข้อถกเถียงของจริยศาสตร์คุณธรรมแบบใหม่ต่อไป Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , , , , , , , , , , , , , , | Leave a Comment »

ความเสมอภาค Equality

Posted by JinSon on June 16, 2010

ความเสมอภาค
Equality

1. บทนำ
2. มโนทัศน์เรื่องความเสมอภาค
3. ความเสมอภาคในด้านกำลังความสามารถ
4. ความเสมอภาคในด้านค่าทางศีลธรรมของบุคคล
5. ข้อท้าทายต่างๆ ที่มีต่อแนวคิดเรื่องความเสมอภาค
เรียบ เรียงจาก
เอกสาร ค้นคว้าเพิ่มเติม Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , | Leave a Comment »

ความ เป็นผู้กำหนดตนเอง Autonomy

Posted by JinSon on June 16, 2010

ความเป็นผู้กำหนดตนเอง
Autonomy

1. บทนำ
2. ความหมายต่างๆ ของ
‘ความเป็นผู้กำหนดตนเอง’
3. ความเป็นผู้กำหนดตนเองที่มีบทบาทอยู่ในจริยศาสตร์

3.1 ความเป็นผู้กำหนดตนเองตามแนวคิดของคานต์

3.1.1 ข้อวิจารณ์ที่มีต่อความเข้าใจเรื่องความเป็นผู้กำหนดตนเองตามแนวคิดของคานต์

3.2 ความเป็นผู้กำหนดตนเองในฐานะเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าชนิดหนึ่ง (
an object of value)
3.3 ความเป็นผู้กำหนดตนเองกับแนวคิดแบบปิตานิยม (
paternalism)
4. ความเป็นผู้กำหนดตนเองในปรัชญาสังคมและการเมือง

4.1 อัตลักษณ์และความเข้าใจเรื่องตัวตนของบุคคล

4.2 บทบาทของความเป็นผู้กำหนดตนเองในการก่อรูปแนวคิดแบบเสรีนิยม

4.3 ความเป็นผู้กำหนดตนเองกับแนวคิดเสรีนิยมทางการเมือง

เรียบเรียงจาก

เอกสารอ้างอิง

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

Read the rest of this entry »

Posted in ปรัชญา | Tagged: , , , | Leave a Comment »

ความรู้ Knowledge

Posted by JinSon on June 16, 2010


ความรู้

Knowledge

1. บทนำ
2. ความรู้ในฐานะที่หมายถึงความเชื่อที่จริงและมีเหตุผลสนับสนุนว่าจริง (Knowledge as Justified True Belief: JTB) และปัญหาเกตติเออร์ (Gettier’s Problem)
3. มูลฐานนิยม (foundationalism) และสหนัยนิยม (coherentism) เกี่ยวกับการให้เหตุผลสนับสนุน
4. ภายนอกนิยม (externalism) และภายในนิยม (internalism) เกี่ยวกับความรู้
5. หลักการเชิงญาณวิทยา (epistemic principle)
6. วิทยาศาสตร์ให้ความรู้แก่เราหรือไม่
7. การถกเถียงเกี่ยวกับความรู้ร่วมสมัย
เรียบเรียงจาก
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
คำที่เกี่ยวข้อง

1. บทนำ

สาขาหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับ “ธรรมชาติของความรู้” คือญาณวิทยา (ญาณวิทยามาจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ epistēmē หมายถึงความรู้ และ logos หมายถึงทฤษฎี) โดยทั่วไป จะเข้าใจกันว่าความรู้มีความสัมพันธ์กับความเชื่อที่จริง อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่จริงบางความเชื่อเท่านั้นที่ถือเป็นความรู้ เนื่องจากอาจเป็นไปได้ที่ความเชื่อที่จริงดังกล่าวจะเกิดจากการเดาหรือความ บังเอิญ จากความเข้าใจโดยทั่วไปดังกล่าวจึงทำให้คำถามหลักที่นักญาณวิทยาสนใจคือ “อะไรทำให้ความเชื่อที่จริงเป็นความรู้” (What converts mere true belief into knowledge?) ซึ่งคำตอบมีหลายแนวทางด้วยกัน ตัวอย่างเช่น แนวทางแบบดั้งเดิมจะตอบปัญหาข้างต้นว่าความเชื่อที่จริงของเราอยู่บนพื้นฐาน ของเหตุผลที่ดีซึ่งเพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าความเชื่อดังกล่าวเป็นความรู้ นักมูลฐานนิยมจะเสนอว่าโครงสร้างของเหตุผลที่ว่านั้นวางอยู่บนเหตุผลพื้นฐาน ที่ไม่มีเหตุผลใดมาสนับสนุนเหตุผลดังกล่าว นักสหนัยนิยมจะเสนอว่าไม่มีเหตุผลพื้นฐาน แต่ความเชื่อของเราทั้งหมดสนับสนุนซึ่งกันและกัน นักภายในนิยมจะเสนอว่าความรู้ถูกตัดสินโดยปัจจัยภายในผู้รู้ (เช่น เนื้อหาในจิต ความทรงจำ เป็นต้น) ส่วนนักภายนอกนิยมจะเสนอว่าความรู้อย่างน้อยจะต้องถูกตัดสินโดยสิ่งอื่นนอก เหนือจากปัจจัยภายใน เป็นต้น Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , , , , , , , , , , , , , , | Leave a Comment »

การให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อ – Epistemic Justification

Posted by JinSon on June 16, 2010

การให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อ

Epistemic Justification

1. บทนำ
2. การให้เหตุผลสนับสนุนที่เกี่ยวกับความเชื่อ-การให้เหตุผลสนับสนุนที่ไม่ เกี่ยวกับความเชื่อ (Epistemic and
Non-Epistemic Justification)
3. มูลฐานนิยมและสหนัยนิยม (Foundationalism and Coherentism)
4. ภายในนิยมและภายนอกนิยม (Internalism and Externalism)
5. Probabilism
6. ญาณวิทยาเชิงธรรมชาติ (Naturalized Epistemology)
เรียบเรียงจาก
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
คำที่เกี่ยวข้อง

1. บทนำ

คำว่า “การให้เหตุผลสนับสนุน” มีการใช้กันทั่วไปในญาณวิทยา คำดังกล่าวเป็นคำที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับคำเชิงบรรทัดฐานต่างๆ เช่น ได้รับการยืนยัน มีเหตุมีผล แต่ก็มิได้มีข้อตกลงร่วมกันว่าคำเหล่านั้นมีความหมายเหมือนกัน แม้นักญาณวิทยาบางคนก็ใช้คำนี้แทนที่กันได้ แต่บางคนก็เห็นว่าแต่ละคำมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่า “ความเชื่อ” คือสิ่งที่คำเหล่านี้บ่งถึง  ซึ่งนักญาณวิทยาสนใจว่าอะไรทำให้ความเชื่อถูกให้เหตุผลสนับสนุน ประพจน์ ข้อความ ข้ออ้าง สมมติฐาน และทฤษฎี สามารถกล่าวได้ว่าถูกให้เหตุผลสนับสนุน Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , , , , , , , , , , , , | Leave a Comment »

การเป็นสาเหตุ – Causation

Posted by JinSon on June 16, 2010


การเป็นสาเหตุ

Causation

1. บทนำ
2. แนวคิดเรื่องสาเหตุของอริสโตเติล
3. แนวคิดเรื่องการเป็นสาเหตุของเดวิด ฮูม
4. แนวคิดเรื่องการเป็นสาเหตุของคานต์และมิลล์
5. ทฤษฎีการเป็นสาเหตุที่เชื่อเรื่องการเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
6. ทฤษฎีความเป็นสาเหตุที่ไม่เชื่อเรื่องการเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
เอกสารอ้างอิง
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

1. บทนำ

มโนทัศน์เรื่องการเป็นสาเหตุ (causation) หรือการพยายามเข้าใจธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียกว่า ‘สาเหตุ’ (cause) และ ‘ผล’ (effect) ของปรากฏการณ์ทั้งทางกายภาพ ทางสังคม และทางจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของนักปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักอภิปรัชญา มาเป็นเวลาช้านานนับตั้งแต่สมัยกรีกแล้ว  ดังที่นักญาณวิทยาได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยความรู้(knowledge), ทฤษฎีว่าด้วยการรับรู้ (perception), และ ว่าด้วยความทรงจำ (memory) ที่อาศัยความเข้าใจเรื่องสาเหตุเป็นพื้นฐานหลายทฤษฎี  หรือนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ก็สนใจเรื่องการเป็นสาเหตุนี้โดยโยงเข้ากับเรื่อง ของการอธิบาย (explanation) ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์  ส่วนนักปรัชญาภาษาบางคนคิดว่าการเข้าใจเรื่องความหมายของคำ (meaning) ต้องนำเอาความเข้าใจเรื่องการเป็นสาเหตุมาใช้อธิบาย  อีกทั้งนักปรัชญาจิตก็พูดถึงเรื่องการเป็นสาเหตุทางจิต (mental causation)  นักปรัชญาประวัติศาสตร์สนใจการเป็นสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  รวมถึงนักปรัชญากฎหมายก็อาจจะต้องสนใจเรื่องสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องด้วยผลของ การกระทำและความรับผิดชอบของผู้ที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การที่มโนทัศน์เรื่องการเป็นสาเหตุได้รับความสนใจมากในหมู่นักปรัชญานั้น อาจเป็นเพราะเราก็พบเห็นด้วยว่าการพูดถึงเรื่องของสาเหตุและผลนั้น มีอยู่ในการพูดจาประจำวันของคนทั่วไปอย่างเป็นปกติ ตั้งแต่ที่ว่าเสียงของนาฬิกาปลุก ทำให้ เราตื่นนอนขึ้นมา จนกระทั่งการที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนนั้นเป็นเหตุให้เราง่วงนอน  การสร้างความชัดเจนให้กับการพูดจาธรรมดาเกี่ยวกับเรื่องการเป็นสาเหตุใน ด้านต่างๆเหล่านี้จึงเป็นบทบาทที่นักปรัชญาสาขาต่างๆสนใจเข้าไปมีส่วนร่วม  ดังปรากฏอย่างชัดเจนในวงการปรัชญาปัจจุบัน

หัวข้อสารานุกรมนี้มีจุดประสงค์ในการให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นสาเหตุ อย่างที่ได้รับการอภิปรายกันอยู่ในวงการปรัชญาอย่างกว้างๆ  โดยจะเริ่มต้นด้วยการพูดถึงความเข้าใจเรื่องการเป็นสาเหตุของปรัชญาสมัย โบราณอันมีแนวคิดเรื่องสาเหตุ 4 ประเภทของอริสโตเติลเป็นหลัก  ต่อไปจะกล่าวถึงแนวคิดเรื่องการเป็นสาเหตุของเดวิด ฮูม ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการถกเถียงเรื่องการเป็นสาเหตุในประวัติ ปรัชญา โดยเป็นแนวคิดที่ให้กรอบการสนทนาเรื่องการเป็นสาเหตุในช่วงเวลาต่อมาเกือบจะ ทั้งหมด  รวมทั้งจะได้กล่าวถึงความเข้าใจเรื่องสาเหตุที่มีลักษณะเฉพาะตัวแบบที่คานต์ และมิลล์เสนอไว้อย่างสังเขป  หลังจากนั้นจะได้กล่าวถึงทฤษฎีว่าด้วยการเป็นสาเหตุทฤษฎีสำคัญๆ ที่มีในปัจจุบัน ทั้งที่ได้รับอิทธิพลจากความเข้าใจแบบฮูม และที่พยายามจะออกจากกรอบความเข้าใจดังกล่าว Read the rest of this entry »

Posted in ปรัชญา | Tagged: , , , , , , , , , | Leave a Comment »

การเดินทางข้ามเวลา Time Travel

Posted by JinSon on June 16, 2010


การเดินทางข้ามเวลา
Time Travel

1. ความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลา
2. ข้อโต้แย้งทางตรรกะต่อการเดินทางข้ามเวลา
3. ปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลา
4. การเดินทางข้ามเวลากับแนวคิดจักรวาลคู่ขนาน
เอกสารอ้างอิง
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
คำที่เกี่ยวข้อง

นับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ความเป็นไปได้ของการเดินทางท่องไปในกาลเวลาไม่ได้เป็นเพียงจินตนาการที่เพ้อ ฝันอีกต่อไป มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา (time travel) กลายเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงอย่างจริงจังทั้งในทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special theory of relativity) ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) แสดงถึงรูปแบบหนึ่งของการเดินทางข้ามเวลาไปสู่อนาคตโดยการเคลื่อนที่ด้วย ความเร็วสูง อันเป็นผลให้เวลาของผู้เดินทางเดินช้าลง (หรือ ที่เรียกว่า time dilation effect) ดังตัวอย่างปฏิทรรศน์คู่แฝด (twin paradox) ที่แฝดคนหนึ่งเดินทางออกไปในอวกาศด้วยจรวดความเร็วสูงและกลับมายังโลก (โดยอาจใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมดเพียง 1 ปี) แต่กลับพบว่าฝาแฝดของตนที่อยู่บนโลกมีอายุมากขึ้นถึง 10 ปี เป็นต้น  จนในปี ค.ศ.1949 คูร์ท เกอเดิล (Kurt Gödel) ได้ค้นพบรูปแบบของกาลอวกาศ (space-time) ในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general theory of relativity) ที่จะทำให้สามารถเดินทางกลับไปสู่อดีตได้ ซึ่งนี่เป็นความหมายของการเดินทางข้ามเวลาที่เราจะพิจารณากันในที่นี้ และเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญและได้รับการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้าง ขวางในปัจจุบัน Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , , , , | Leave a Comment »

พิธีกรรมและการเดินรูป 14 ภาค

Posted by JinSon on March 1, 2010

การจับกุมองค์พระเยซูเจ้าในสวนมะกอกเทศ

เรา เริ่มต้นการเดินทางจากสวนเกทเสมนี ซึ่งตึ้งอยู่ทางทิศเหนือของภูเขามะกอกเทศในหุบเขาเบื้องหน้าเราจะเห็นบริเวณ พระวิหารทอแสงระยิบระยับในยามเย็น เราจะเห็นรูปโดมสีทองซึ่งเป็นโดมแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ล้อมรอบด้วยพื้นที่อัน กว้างขวาง

ทัศนียภาพที่เรามองเห็นนี้ไม่แตกต่างจากทัศนียภาพซึ่งองค์ พระเยซูเจ้าทรงทอดพระเนตรเท่าใดนัก พื้นที่เบื้องล่างอยู่ห่างไกลออกไปประมาณพันกว่าฟุต แต่เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างปรากฎชัดเจนในยามกลางคือประกอบด้วยแสงสว่างมาก มายในเขตพระวิหารจึงรู้สึกเหมือนกับว่า เราสามารถจะแตะยอดโดมนั้นได้ทีเดียว ภูเขามะกอกเทศอยู่สูงกว่าพระวิหาร ดังนั้นพื้นที่เบื้องล่างทั้งหมดจึงปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: | Leave a Comment »

หล้กคำสอนเกี่ยวกับศีลอภัยบาป

Posted by JinSon on March 1, 2010

คำ สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 2 (2543) หน้า 353

ความหมายของศีลอภัยบาป
ความหมายตามคำศัพท์ คำว่า “Penance”  เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า “Paenitentia”  ซึ่ง A.Souter ได้ให้ความหมายว่า  เป็นการเสียใจในบาป (regret for sin) ส่วนในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ฉบับภาษากรีกใช้คำว่า “Metanoia”  ในความหมายว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงจิตใจของคนๆ หนึ่ง ซึ่งคำในภาษาฮิบรูดั้งเดิม เป็นความหมายที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่แสดงความหมายของ “การกลับมา” เหมือนคนที่เดินทางผิดเส้นทาง และก็จำเป็นต้องย้อนกลับมา และเมื่อประยุกต์กับความหมายของศีลอภัยบาป จึงเป็นความคิดว่า เป็นการที่คน ๆ หนึ่งได้หันชีวิตของตนเองกลับมาสู่พระเจ้าทั้งครบ  หันจากบาปความผิดที่ทำให้ชีวิตหันเหไปจาก   พระองค์ ให้กลับคืนมาสู่พระเจ้าอีกครั้ง Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , | Leave a Comment »

เริ่มต้นแก้บาปอย่างไร

Posted by JinSon on March 1, 2010

ศีลอภัยบาปกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของศีลอภัยบาป

เมื่อคริสตชนได้ทำบาป หากปรารถนารับศีลอภัยบาป  ก่อนอื่นจะต้องกลับมาหาพระเจ้าอย่างแท้จริง   การกลับใจเช่นนี้ประกอบด้วยความเป็นทุกข์ถึงบาปและความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง ชีวิตใหม่  และจะต้องแสดงออกมาด้วยการสารภาพบาปซึ่งกระทำต่อพระศาสนจักร  ด้วยการชดเชยบาปและเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ พระเจ้าทรงอภัยบาปอาศัยพระศาสนจักรซึ่งให้พระสงฆ์เป็นผู้กระทำหน้าที่นี้

การ พิจารณามโนธรรมก่อนการแก้บาป เป็นสิ่งสำคัญก่อนการไปแก้บาปทุกครั้ง หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแก้บาปอย่างไร  ก็ให้เริ่มต้นจาก Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , | Leave a Comment »

ปฏิบัติกิจใช้โทษบาป

Posted by JinSon on March 1, 2010

คริสตชนฉลองปัสกาเพื่อระลึกถึงการผ่านจากความตาย เข้าสู่ชีวิตพร้อมกับองค์พระคริสต์เจ้า ดังนั้ น ในเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นการเตรียมสมโภชปัสกานี้ พระศาสนจักรจึงย้ำถึงความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตโดยการกลับใจละทิ้ง บาป และกิจการชั่วร้ายต่างๆ ที่ทำให้เราเหินห่างจากพระเจ้า จะได้หัน กลับมาหาพระองค์เพื่อรื้อฟื้นชีวิตใหม่ในพระคริสตเจ้าให้เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นทุกปี เทศกาลมหาพรตจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวคริสตชนสำรอง เพื่อรับศีลล้างบาปในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นกา รเฉลิมฉลองปัสกาที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงมีชัยชนะต่อบาป และความตายกลับคืนพระชนม์ชีพนอกจากนั้นยังเป็นโอกาสที่พระศาสนจักรจะอภัยบาป แก่คริสตชนที่ทำบาปหนัก และต้องการจะคืนดีกับพระเจ้าและพระศาสนจักร เพราะฉะนั้นเทศกาลมหาพรตจึงเป็นระยะเวลาที่คนบาปเช่นนี้แสดงการกลับใจ โดยปฏิบัติกิจใช้โทษบาปที่พระศาสนจักรกำหนดให้ เป็นเทศกาลแห่งการเตรียมตัว โดยเน้นที่การฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิต ประกอบด้วยการจำศีล ภาวนา อดอาหาร การกลับใจโดยการทำทาน ปฏิบัติกิจเมตตา ชดเชยบาป ทำกิจศรัทธาเพิ่มมากขึ้น Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , | Leave a Comment »

วันพุธรับเถ้า

Posted by JinSon on March 1, 2010

วัน พุธรับเถ้า เป็นวันเริ่มเทศกาลมหาพรต คือ ระยะเวลาสี่สิบวันเพื่อเตรียมสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เพราะสมโภชปัสกาเป็นการเฉลิม ฉลองการที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ เพื่อกอบกู้มนุษยชาติให้คืนดีกับพระเจ้ามารับชีวิตร่วมกับพระองค์ เทศกาลนี้มีชื่อเป็นภาษาลาตินว่า “Quadragesima” ซึ่งแปลว่า “ที่สี่สิบ” (ภาษาอังกฤษเรียกเทศกาลนี้ว่า “Lent”) เป็นเทศกาลที่ครอบคลุม 6 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันตก (ยุโรป หรือ 7 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันออก โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: | Leave a Comment »

ข้อกำหนดพระศาสนจักรว่าด้วยเรื่องการจำศีล อดอาหาร

Posted by JinSon on March 1, 2010

เพื่อพี่น้องจะได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามจิต ตารมณ์ของเทศกาลมหาพรต ดังนั้นขอให้พี่น้องได้ปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของพระศาสนจักรดังต่อไปนี้

1. ตามบัญญัติของพระเป็นเจ้า คริสตชนทุกคนต้องชดเชยใช้โทษบาปของตนตามวิธีธการของแต่ละคนและเพื่อการ ปฏิบัติร่วมกัน จึงได้กำหนดวันชดเชยใช้โทษบาปซึ่งคริสตชนจะได้สวดภาวนาปฏิบัติกิจเมตตาปราณี และความรักเป็นพิเศษ เสียสละตนเอง และทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ (ม.1249) Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , , | Leave a Comment »

จิตตารมณ์มหาพรต 40 วัน

Posted by JinSon on March 1, 2010

ก่อนที่พระเยซูคริสตเจ้าจะทรงเริ่มดำเนินพระ ภารกิจการไถ่กู้มวลมนุษย์พระองค์ทรงใช้เวลา 40 วัน ปฏิบัติดังนี้ คือ

1. ทรงเตรียมตัวที่จะอุทิศตนเพื่อความรอดของมวลมนุษย์ กล่าวคือ ให้ชีวิตของพระองค์เป็นทานไม่ใช่ให้เพียงสิ่งของเป็นทานเท่านั้น

2. ทรงภาวนาติดต่อกับพระบิดาเจ้า เพื่อไตร่ตรองพระประสงค์ของพระองค์ เกี่ยวกับแผนการแห่งการไถ่กู้มนุษยชาติ

3. ทรงอดอาหาร เพื่อยืนยันว่า สิ่งสร้างและปัจจัยสี่ทั้งหลายไม่สำคัญกว่าพระผู้สร้าง Read the rest of this entry »

Posted in Uncategorized | Tagged: , | Leave a Comment »