ปรัชญา และ ศาสนา

Philosophy and Theology (www.saengtham.tk)

Posts Tagged ‘ความวิเคราะห์ (analytic statement)’

ก่อนประสบการณ์ – หลังประสบการณ์ -A Priori – A Posteriori

Posted by JinSon on September 30, 2009

ก่อนประสบการณ์ – หลังประสบการณ์
A Priori – A Posteriori

1. บทนำ
2. มโนทัศน์ก่อนประสบการณ์-หลังประสบการณ์ของอิมมานูเอล คานต์
3. ความสัมพันธ์ระหว่างก่อนประสบการณ์-หลังประสบการณ์กับความจริงจำเป็น-ความจริงง่อนแง่น (necessary-contingent truth) และประพจน์วิเคราะห์-ประพจน์สังเคราะห์ (analytic-synthetic proposition)
4. การให้เหตุผลสนับสนุนความรู้ก่อนประสบการณ์และการให้เหตุผลสนับสนุนความรู้หลังประสบการณ์
5. การถกเถียงเกี่ยวกับความรู้ก่อนประสบการณ์และความรู้หลังประสบการณ์ในสมัยปัจจุบัน
เรียบเรียงจาก
เอกสารอ้างอิง
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
คำที่เกี่ยวข้อง

1. บทนำ

“ก่อนประสบการณ์” (a priori) และ “หลังประสบการณ์” (a posteriori) เป็นคำสำคัญในญาณวิทยามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ความแตกต่างระหว่างก่อนประสบการณ์และหลังประสบการณ์เป็นความแตกต่างเชิงญาณวิทยา (epistemological distinction) โดยอริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้เริ่มต้นมโนทัศน์เกี่ยวกับก่อนประสบการณ์และหลังประสบการณ์ ความหมายตามตัวอักษรของก่อนประสบการณ์นั้นหมายถึง “จากสิ่งที่มาก่อน” (from what is prior) และความหมายตามตัวอักษรของหลังประสบการณ์นั้นหมายถึง “จากสิ่งที่มาทีหลัง” (from what is posterior) ตามความคิดของอริสโตเติลแล้วนั้น ก จะ “มาก่อน” ข ก็ต่อเมื่อ ข ไม่สามารถมีอยู่ได้โดยไม่มี ก ดังนั้น ก จะมาก่อน ข ในเชิงความรู้ได้ก็ต่อเมื่อเราไม่สามารถรู้ ข ได้โดยไม่รู้ ก มาก่อน ดูเหมือนกับว่าตามแนวคิดของอริสโตเติลนั้น การรู้ว่า “อะไรมาก่อน” ก็คือการรู้สาเหตุของสิ่งนั้นๆ อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่าก่อนประสบการณ์และหลังประสบการณ์ในปัจจุบันมักจะอ้างอิงความหมายของคำจากมโนทัศน์ที่อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เสนอเอาไว้ ซึ่งในประวัติปรัชญาจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ก่อนประสบการณ์และ หลังประสบการณ์มาเป็นแนวคิดของคานต์นั้นมีต้นเค้ามาจากแนวคิดของไลบ์นิซ (Leibniz) กล่าวคือ ไลบ์นิซเสนอว่าการรู้ความจริงหลังประสบการณ์คือการรู้ความจริงดังกล่าวจากสิ่งที่พบจริงๆ ในโลก หรือโดยประสบการณ์ทางผัสสะ ส่วนการรู้ความจริงก่อนประสบการณ์นั้นคือการรู้ความจริงดังกล่าวจากการเผยให้เห็นสาเหตุของสิ่งที่แน่นอน ด้วยการแบ่งดังกล่าวจึงทำให้ไลน์บิซสามารถแยกความแตกต่างระหว่างความจริงหลังประสบการณ์หรือความจริงของข้อเท็จจริงต่างๆ (truth of facts) กับความจริงก่อนประสบการณ์หรือความจริงของเหตุผล (truth of reason) ดังนั้นความแตกต่างระหว่างก่อนประสบการณ์และหลังประสบการณ์จึงมาจากความแตก ต่างระหว่างสิ่งที่มาจากประสบการณ์กับสิ่งที่มิได้มาจากประสบการณ์
Read the rest of this entry »

Posted in สารานุกรมปรัชญา Encyclopedia of Philosophy | Tagged: , , , , , , , , , , , , , | Leave a Comment »